เกี่ยวกับเรา | บริการ | ลงโฆษณา | พันธมิตรกับเรา | สะสมแต้ม | ออกแบบเว็บไซต์
 
 
 
ปลายทาง  |  รีวิวเที่ยวทะเล  |  รีวิวที่พัก  |  รีวิวร้านอาหาร  |  สัมผัสทะเลไทย
บริการ  :   โปรโมชั่น  |  ตั๋วเครื่องบิน  |  โรงแรม ที่พัก  |  แพคเกจทัวร์ |  ท่าเรือ-เรือเช่า  |  ข้อมูลการเดินทาง
AA
 
:: ปลายทาง
อ่าวไทยตะวันออก
อ่าวไทยตะวันตก
ทะเลใต้ ฝั่งอันดามัน
ทะเลใต้ ฝั่งอ่าวไทย
เตรียมตัวเที่ยวทะเล
 
เกี่ยวกับเรา
สำหรับผู้ประกอบการ
   โฆษณากับเรา
   พันธมิตรกับเรา
   สะสมแต้ม จิกทะเลพลัส

:: เกาะ เมืองชายทะเล > ทะเลใต้ ฝั่งอันดามัน
หมู่เกาะระนอง-แหลมสน-ลำน้ำกระบุรี
หมู่เกาะสุรินทร์-ตาชัย
เขาหลัก-หมู่เกาะสิมิลัน
หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี

หมู่เกาะลันตา เกาะรอก

ภูเก็ต-เขาสิรินาถ
ทะเลตรัง-หาดเจ้าไหม
ตะรุเตา- อาดัง ราวี หลีเป๊ะ
 
B08,
B09

สารบัญที่พัก บังกาโล รีสอร์ท
รีวิวที่พัก บังกาโล รีสอร์ท
การเดินทาง
โปรโมชั่น
บันทึกความทรงจำ


 
พังงา > กิจกรรมท่องเที่ยว  
ภาพโดย thai.tourismthailand.org, www.facebook.com/Pacharaanong Hirunsalee, www.facebook.com/WhiteCloudTravel
 
 
กิจกรรมท่องเที่ยวใน พังงา
อ่าวและชายหาด ดำน้ำแบบสนอร์เกิล
ดำน้ำแบบสกูบา Water Sports
ปีนเขา ชมวิว เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
วิถีชีวิตชาวเล ตกปลา-ตกหมึก
กิจกรรมอื่นๆ  
 
กิจกรรมท่องเที่ยว
อ่าวและชายหาด

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ได้ชื่อว่ามีความใสสะอาดของน้ำทะเลและความขาวละเอียดของเม็ดทรายมากที่สุดของเมืองไทย ประกอบด้วยเกาะทั้งเก้าเรียงตัวกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ คำว่า “สิมิลัน” เป็นภาษายาวี แปลว่า เก้า ซึ่งก็หมายถึงเกาะทั้งเก้า อันประกอบด้วย เกาะหูยง เกาะปายัง เกาะปาหยัน เกาะเมียง เกาะห้า เกาะปายู เกาะหัวกะโหลก(เกาะบอน) เกาะสิมิลัน และเกาะบางู ปัจจุบันได้มีการประกาศให้เกาะตาชัย ซึ่งอยู่ระหว่างเกาะสิมิลันและเกาะสุรินทร์เพิ่มเข้ามาอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

การท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ท่องเที่ยวชายทะเลทั่วไป โดยมีเกาะสำคัญ คือ เกาะแปด หรือเกาะสิมิลัน เกาะแห่งนี้มีเอกลักษณ์คือ เป็นอ่าวรูปเกือกม้า และมีหินเรือใบเป็นสัญลักษณ์ ที่นี่มีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ตัวอยู่ อนุญาตให้นักท่องเที่ยวตั้งแคมป์พักแรมได้ อีกเกาะที่มีความสำคัญคือ เกาะสี่ หรือเกาะเมียง เป็นเกาะซึ่งเป็นที่ตั้งของทำการอุทยานฯ มีแนวชายหาดที่สวยงามทั้งด้านหน้าและด้านหลัง นอกจากนี้ยังมีจุดชมวิวลานข้าหลวง ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นท้องทะเลสีคราม สวยงามไม่แพ้จุดชมวิวหินเรือใบที่เกาะแปด เกาะสี่มีบ้านพักให้บริการ มีแหล่งน้ำจืดที่สมบูรณ์กว่าเกาะอื่นๆ

ในจำนวนเกาะทั้งหมด เกาะหนึ่งหรือเกาะหูยง เป็นเกาะที่ยังคงความเป็นธรรมชาติมากที่สุด ปัจจุบันไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวขึ้นเกาะ เพราะ สงวนไว้สำหรับเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ เสน่ห์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของหมู่เกาะสิมิลัน คือ แนวปะการังน้ำลึกที่ได้ชื่อว่าสวยงามติดอันดับโลก ที่นี่มีจุดดำน้ำดูปะการังทั้งน้ำตื้นละน้ำลึกหลายแห่งกระจายตามพื้นที่เกาะต่างๆ ฤดูท่องเที่ยวหมู่เกาะสิมิลันเริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนเมษายน พอย่างเข้าสู่เดือนพฤษภาคม ลมมรสุมเริ่มมาเยือน จึงมีการประกาศปิดอุทยานฯ เพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัว

กำหนดปิด-เปิดฤดูการท่องเที่ยวประจำปี ดังนี้
ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 31 ตุลาคม ของทุกปี
เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน - 15 พฤษภาคม ของทุกปี

ค่าเข้าชม
คนไทยผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท /ชาวต่างชาติผู้ใหญ่ 300 บาท เด็ก 200 บาท อัตราค่าบริการ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยลด 50 เปอร์เซ็นต์ วันจันทร์-วันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม-31 ธันวาคม 2558 ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 25 บาท

การเดินทาง
หมู่เกาะสิมิลันอยู่ห่างจากชายฝั่งราว 40 กม. จุดลงเรือที่ใกล้ที่สุด คือ ท่าเรือทับละมุ ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอตะกั่วป่าราว 20 กม. โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ตะกั่วป่า-ท้ายเมือง) บริเวณบ้านลำแก่นจะมีทางแยกขวามือเข้าไปท่าเรือประมาน 5 กม. ก่อนถึงท่าเรือทางด้านซ้ายมือราว 50 เมตร เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

ปัจจุบันการเดินทางไปหมู่เกาะสิมิลันค่อนข้างคล่องตัว มีเรือเร็วหลายขนาดให้บริการทุกวันในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวเดือนพฤศจิกายน-เดือนเมษายน ใช้เวลาในการเดินทาง 2 ชม. อัตราค่าโดยสารไป-กลับ 1,500 บาท ในกรณีที่ต้องการค้างคืน สามารถขอกลับในเที่ยวเรือวันรุ่งขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีเรือโดยสารขนาดใหญ่ให้บริการ ควรตรวจสอบเวลาการเดินทางที่แน่ชัดอีกครั้ง เพราะ เรือไม่ได้ให้บริการทุกวัน ในกรณีที่เดินทางไปเป็นหมู่คณะสามารถเช่าเหมาเรือเร็วได้ อัตราค่าเช่า 20,000-40,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือและระยะเวลาในการเดินทาง หมู่เกาะสิมิลันมีที่พักให้บริการ 2 เกาะ คือ ที่เกาะแปด จะเป็นที่พักแบบเต็นท์พักแรม ส่วนอีกที่หนึ่งคือเกาะสี่ มีบ้านพักทั้งแบบบ้านพักธรรมดาและแบบปรับอากาศ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รองรับ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน 93 หมู่ที่ 5 บ้านทับละมุ ถนนเพชรเกษม ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเมือง จังหวัดพังงา 82210 โทรศัพท์ 0 7645 3272, 07642 1365 สำนักงานบนฝั่ง โทรศัพท์ 0 7659 5045 เว็บไซต์ www.dnp.go.th เม็ดทราย ทัวร์ โทรศัพท์ 0 7644 3276, 08 1893 8042 บริษัท ซีทราน ทราเวลา จำกัด โทรศัพท์ 0 7621 3510, 0 2240 2572-6

 
 

เกาะตะปู
เขาตะปู มีลักษณะเป็นแท่งหินใหญ่มหึมาโดดเด่นปักอยู่ในทะเลบริเวณปากอ่าวพังงาใกล้ๆ กับเขาพิงกัน ซึ่งเมื่อ มองจากระยะไกลแล้ว จะเห็นมีลักษณะคล้ายกับตะปูขนาดยักษ์ถูกตอกลึกลงไปในน้ำ อย่างไรก็ตามเขาตะปูเป็น ภูเขาที่มีอันตรายห้ามเข้าใกล้เนื่องจากส่วนที่จมอยู่ใต้ทะเลได้ถูกน้ำทะเลกัดเซาะ เป็นเวลานานนับล้านปี จึงสึก กร่อนและมีขนาดเล็กกว่าส่วนบน มากมายหลายเท่า จนมีความกลัวกันว่าอาจล้มลงมาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ทางราชการ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้ห้ามนักท่องเที่ยวล่องเรือเข้าไปดูใกล้ๆ โดยเด็ดขาด เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับอันตรายดังกล่าว เขาตะปูเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง จนมีภาพยนตร์ฮอลลีวูด มาถ่ายทำที่เกาะตะปูนี้ ในปี พ.ศ. 2517 ภาพยนตร์เรื่องเจมส์ บอนด์ ตอนเพชฌฆาตปืนทอง (The Man with the Golden Gun) และเกาะตะปู ยังได้รับการขนานนามอีกชื่อหนึ่งว่า "James Bond Island" อีกด้วย


 
 

เกาะพระทอง
เกาะพระทอง อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง มีเกาะบริการที่อยู่ติดทะเลอันดามัน ทั้งเกาะระ เกาะคอเขา เกาะปลิง-เกาะพ่อตา เกาะลูกตุ้ม เกาะทุ่งนางดำ และมีเกาะขนาดเล็กต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ป่าชายเลนอีกถึง 37 เกาะ เกาะพระทองนั้นเหมาะสำหรับคนรักการพักผ่อนท่าทกลางธรรมชาติสวยอย่างเป็นส่วนตัว ความงามทางธรรมชาติบนบกนั้นว่าน่าตื่นตาแล้ว ในขณะที่ใต้น้ำก็งดงามไม่แพ้กัน ชายหาดสวยน้ำทะเลใส ปะการังก็มีให้ชม แถมยังนั่งเรือข้ามไปเที่ยวเกาะระ ที่อยู่ทางด้านทิศเหนือของเกาะพระทอง ได้อีกหนึ่งต่อด้วย

เกาะพระทอง ได้รับการตั้งสมญานามว่า เป็นซาฟารีกลางอันดามัน ด้วยลักษณะของเกาะที่มีพื้นที่ราบเป็นส่วนใหญ่ มีชายหาดด้านทิศตะวันตก ป่าชายเลนด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก บนเกาะเป็นทุ่งหญ้า ป่าเสม็ด และป่าพรุ ชวนให้นึกถึงบรรยากาศของซาฟารีที่ประเทศแอฟริกา มีสัตว์นานาชนิดอาศัยอยู่บนเกาะทำให้ที่นี่มีเสน่ห์เหนือใคร เกาะพระทอง เป็นเกาะที่มีพื้นที่กว้างและเป็นที่ราบไม่มีภูเขา ด้านทิศตะวันออกของพื้นที่เป็นป่าชายเลนติดต่อกันสมบูรณ์ ส่วนพื้นที่ราบทางด้านทิศตะวันตกสภาพเป็นป่าทดแทนที่ไม้เสม็ดขึ้นเป็นส่วนใหญ่สลับกับทุ่งหญ้าโล่งกว้าง เป็นทุ่งหญ้าคล้ายทุ่งหญ้าสะวันนาในแอฟริกา มีพรรณไม้หายากให้ชมอีกมากมายและที่สำคัญยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนานาชนิด ทั้งฝูงกวางป่าประมาณ 60 ตัว หมูป่า ค่างแว่นถิ่นใต้ ลิงแสม อีเห็นธรรมดา นากใหญ่ขนเรียบ นิ่มกระรอกท้องแดง กระรอกปลายหางดำ ค้างคาวแม่ไก่ บ่าง หนูเกาะ รวมถึงนกตะกรุม เป็นนกใกล้สูญพันธุ์ในเมืองไทย และพะยูน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกหนึ่งชนิดที่นับวันยิ่งหายากในน่าน้ำทะเลไทย แต่ที่เกาะพระทอง และที่เกาะระชาวบ้านเคยเห็นอยู่บ่อยครั้ง

พื้นที่บริเวณนี้ยังสามารถตั้งแค้มป์ได้ด้วย ชาวค่ายนิยมมาหาจุดตั้งแค้มป์กัน ยามค่ำยังสนุกสนานต่อได้ด้วยกิจกรรมส่องสัตว์ โดยจะพบฝูงกวาง และหมูป่าเป็นหลัก หลังจากเพลิดเพลินกับกิจกรรมเดินป่าศึกษาธรรมชาติ และชมสัตว์หลากชนิดอย่างน่าตื่นตาตื่นใจแล้ว ใครที่ชอบกิจกรรมริมชายหาด หรือกิจกรรมทางน้ำ ก็แนะนำให้ไปที่ชายหาดที่วางตัวทิศเหนือไปจนถึงทิศใต้ของตัวเกาะ หาดทรายสวยน้ำทะเลใส ในช่วงที่น้ำทะเลลดลง จะเผยชายหาดขาวทอดยาวเป็นพื้นที่กว้าง เหมาะกับการทำกิจกรรมริมหาดทรายมากมาย ในช่วงที่แนวชายหาดใกล้กับป่าชายเลน น้ำทะเลอาจจะไม่ใสมากนัก แต่ก็ทดแทนด้วยความสมบูรณ์ทางธรรมชาติแทน

การเดินทาง
สามารถเดินทางโดยรถยนต์จากกรุงเทพฯ โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ถึงอำเภอคุระบุรี ใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์หรือรถสองแถวไปยังท่าเทียบเรือคุระบุรี ท่าเรือหลักที่จะพาคุณเดินทางไปยังหมู่เกาะสุรินทร์ เมื่อถึงหมู่เกาะสุรินทร์ บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จะมีท่าเรือนางย่อน ให้บริการเรือจากหมู่เกาะสุรินทร์ไปยังเกาะพระทองใช้เวลาประมาณ 30 นาทีเท่านั้น

 
 

เกาะยาว
ประกอบด้วยเกาะขนาดใหญ่ 2 เกาะ คือ เกาะยาวใหญ่และเกาะยาวน้อย นอกเหนือจากเกาะบริวารขนาดเล็กๆ อีกหลายเกาะ มีพื้นที่ประมาณ 137.6 ตารางกิโลเมตร เกาะยาวใหญ่เป็นเกาะที่มีประชาชนอาศัยอยู่กว่า 100 ปีมาแล้ว ส่วนใหญ่อพยพมาจากตำบลเกาะยาวน้อย จังหวัดสตูล และจังหวัดตรัง กว่าร้อยละ 90 นับถือศาสนาอิสลาม สมัยเริ่มแรกมีอาชีพทำประมง สวนยางพารา ก่อนที่การท่องเที่ยวจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนที่นี่

เกาะยาวใหญ่ มีโค้งอ่าวสวยงามมากมาย แต่ด้วยความที่เป็นชุมชนขนาดเล็กกว่าและไม่ได้เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ ทำให้การท่องเที่ยวได้รับการขยายตัวน้อยกว่าพื้นที่เกาะยาวน้อย โดยมีโค้งอ่าวสำคัญคือ อ่าวคลองสน แหลมมหาด อ่าวทิวสน อ่าวนกเป็ดน้ำ และอ่าวไม้ไผ่ เป็นต้น

เกาะยาวน้อย เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเกาะยาว ก่อนปี พ.ศ. 2446 มีฐานะเป็นตำบลขึ้นอยู่กับอำเภอเมืองพังงา ดำรงสถานะเป็นกิ่งอำเภออยู่นานนับร้อยปี จึงได้รับการประกาศให้เป็นอำเภอ มีพื้นที่ประมาน 46.4 ตารางกิโลเมตร มีแนวชายหาดที่สำคัญคือ หาดป่าทรายและชายทะเลท่าเขา ซึ่งมีบ้านพักรีสอร์ทค่อนข้างหนาแน่นกว่าชายหาดอื่นๆ นอกจากนี้ก็มีอ่าวคลองจาก อ่าวที่มีความสวยงามที่สุดของเกาะยาวน้อย แต่การเดินทางค่อนข้างลำบาก หาดโล๊ะหา แนวชายหาดที่อยู่ด้านตอนเหนือของเกาะ และอ่าวต้นโพธิ์ ซึ่งมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่หลายสิบคนโอบ

สถานที่ที่ไม่ควรพลาดเมื่อเดินทางไปเกาะยาวน้อย คือ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ในทะเล ในช่วงน้ำลงจะมีบ่อน้ำจืดเล็กๆ ที่น้ำจืดผุดขึ้นมาจากใต้ดิน ในยุคสมัยการตั้งถิ่นฐานใหม่ๆ บนเกาะยาวน้อย ชาวบ้านไดใช้น้ำจืดจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้เพื่อดื่มกินและยังชีพ นอกเหนือจากแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแล้ว เกาะยาวใหญ่และเกาะยาวน้อยยังมีรูปแบบการท่องเที่ยวแบบบังกะโล สำหรับคนที่ต้องการสัมผัสวิถีชีวิตแบบพื้นบ้าน พร้อมกิจกรรมหลายๆ อย่างที่ทำให้เข้าใจถึงการใช้วิถีชีวิตในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการออกจับปลา ไดหมึก จับหอยแครง หรือ แม้กระทั่งการปั่นจักรยานเสือภูเขา

การเดินทาง
สามารถเดินทางไปเกาะยาวน้อยได้หลายเส้นทาง ทั้งจากจังหวัดพังงา (ท่าเรือด่านศุลกากร) จากจังหวัดกระบี่ (ท่าเรือท่าเลน) และจากจังหวัดภูเก็ต (ท่าเรือบางโรง) แต่ที่สะดวกที่สุด คือ เดินทางจากท่าเรือบางโรงไปท่าเรือมาเนาะ เพราะ มีเรือหางยาวขนาดใหญ่ให้บริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่ 08.30-17.00 นาฬิกา ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 40 นาที ค่าโดยสารคนละ 200 บาท หรือจะเช่าเหมาเรือซึ่งมีหลายขนาดให้เช่า สนนราคาตั้งแต่ 3,000-8,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดเรือ

ส่วนการเดินทางไปเกาะยาวใหญ่ สามารถเดินทางจากท่าเรือบางโรง จังหวัดภูเก็ต ได้เช่นเดียวกัน โดยเรือจะแวะส่งที่เกาะยาวใหญ่ก่อนที่จะไปสิ้นสุดเส้นทางที่ท่าเรือเกาะยาวน้อย หรือจะใช้บริการเรือหางยาวขนาดเล็กที่วิ่งให้บริการระหว่างเกาะยาวใหญ่และเกาะยาวน้อยก็ได้ ใช้เวลาในการเดินทางประมาน 15 นาที


 
 

เกาะปันหยี
ที่เกาะปันหยีมีชุมชนชาวประมงโบราณกว่า 200 ปี ที่อาศัยพื้นที่ราบหลังเกาะปันหยีเป็นที่หลบฝน และตั้งหมู่บ้านน้อยๆ ขึ้นมา โดยแต่ละบ้านจะยกพื้นสูงเหนือน้ำ ชาวบ้านทั้งหมดเป็นชาวมุสลิม และอุทิศที่ราบเล็กๆ ของเกาะปันหยีให้เป็นมัสยิด ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คน บนเกาะปันหยีแห่งนี้จะได้ชมวิถีชีวิตฃาวเลพื้นบ้านแบบชาวเล แท้ๆ ที่มีศาสนาอิสลามหลอมรวมจิตใจผู้คน นอกจากนี้อาจจะได้ลุ้นเชียร์ฟุตบอลของชาวปันหยี เอฟซีด้วย เกาะปันหยีตั้งอยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ม. 1 บ้านท่าด่าน ต.เกาะปันหยี อ.เมือง จ.พังงา สามารถแวะชมสนามฟุตบอล ซึ่งก่อตั้งโดยสโมสรฟุตบอลแห่งเกาะปันหยี หรือ “ปันหยี เอฟซี” หลายท่านไม่เชื่อว่าบนเกาะมีพื้นที่ราบเพียง 1 ไร่จะสามารถเล่นฟุตบอลได้จริง แต่ทุกวันนี้ความฝันของเด็กๆ เป็นจริงเพราะความร่วมแรงร่วมใจของชาวเกาะนั่นเอง โดยบนเกาะสามารถหาปลาหมึกย่างกินได้ทั่วไป รวมทั้งมีร้านขายของที่ระลึกมากมาย สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง ตัวเมืองพังงาเป็นเมืองเล็ก เงียบสงบ เพราะจุดหมายนักท่องเที่ยวอยู่ที่ทะเล ดังนั้นหากได้ไปเที่ยวในตัวเมืองก็ได้อีกบรรยากาศหนึ่งอีกทั้งยังมีอาหารปักษ์ใต้ให้กินอย่างอิ่มหนำ ตัวอาคารบ้านเรือนก็สวยงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบชิโน – โปตุกีส เช่นเดียวกับภูเก็ต ถ้ำพุงช้าง อ.เมือง เป็นอันซีนด้วยถ้ำรูปช้างหมอบ โดยมีฉากหลังเป็นศาลากลางจังหวัด ภายในมีหินงอกหินย้อยงดงามมากโดยเฉพาะรูปช้างสีขาว และอุทยานแห่งชาติเขาลำปี – ท้ายเหมือง อยู่ ต.ทุ่ง – มะพร้าว อ.ท้ายเหมือง เป็นแหล่งเฟิร์นที่แต่ละต้นสูง 810 เมตร


 
 

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
ที่จังหวัดพังงา ภาพหาดทรายขาวละเอียดเสมือนภาพฝัน และเป็นหนึ่งในฝันของใครหลายๆคนที่ต้องการไปเยือนทะเลใสชายฝั่งอันดามัน เพื่อพักผ่อนด้วยการนอนฟังเสียงคลื่นกระทบหาดเป็นจังหวะจะโคน ใต้เงาของทิวมะพร้าวที่ท้าทายแดดจัดสดใส ไกลออกไปยังเป็นเขาหินปูนรูปทรงประหลาดตา จังหวัดพังงายังได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดเก่าแก่ในฐานะเมืองโบราณ ซึ่งเดิมศูนย์กลายความเจริญที่เมืองตะกั่วป่า หรือตักโกลาในแผนที่โบราณชาวกรีก นอกจากนี้หลักฐานทางโบราณคดียังระบุว่าได้พบการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดูได้จากลูกปัดแก้วหลากชนิดจากเกาะคอเขา และเทวรูปพระวิษณุจากเขาพระนารายณ์ รวมทั้งจารึกอักษรปัลลวะ จึงยืนยันได้ว่าพังงาเคยเป็นสถานที่การค้าที่สำคัญ และเป็นชุมชนชาวต่างชาติมาแต่ดั้งเดิม

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา หากเอ่ยถึงพังงา นักท่องเที่ยวต่างนึกถึง “เขาตะปู” หรือที่ฝรั่งเรียกว่า “เจมส์บอนด์ ไอร์แลนด์” หรือเกาะเจมส์บอนด์ เนื่องจากหนังเรื่องเจมส์บอนด์เคยเข้ามาใช้เป็นฉากถ่ายทำ ทำให้เขาตะปูเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ส่วน “เขาพิงกัน” ก็เป็นฉากในหนังดังเรื่อง “จากเธอที่เขาพังกัน” ที่สรพงษ์ ชาตรี แสดงนำ กำกับการแสดงโดยชุมพร เทพพิทักษ์ เช่นเดียวกับเรื่อง “ตะวันขึ้นที่อ่าวพังงา” ก็เคยเป็นละครโทรทัศน์ออกอากาศทางช่อง 5 ถึง 2 ครั้งมาแล้ว เมืองชายทะเลแห่งนี้จึงได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองในความทรงจำของคนที่หลงรักทะเล และบรรยากาศโรแมนติก

ทั้งนี้ที่มีท่าเทียบเรือเพื่อไปอ่าวพังงามี 3 แห่ง คือท่าเทียบเรือบ้านท่าด่าน บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา และท่าเทียบเรือสุระกุล อ.ตะกั่วทุ่ง นอกจากนี้ที่อ่าวยังมีเรือโดยสารนำเที่ยวไปสถานที่ต่างๆ อาทิ ถ้ำลอด เขาหมาจู เกาะปันหยี เขาทะลุ เขาพิงกัน เขาตะปู ราคาแล้วแต่จะตกลง


 
 

อุทยานแห่งชาติศรีพังงา
อุทยานแห่งชาติศรีพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 56 ของประเทศ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติ 1 ในจำนวน 5 แห่ง ของโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม 2530 ซึ่งมีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์และสวยงามตามธรรมชาติ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ มีสัตว์ป่าชุกชุม และจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก หน้าผา เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติศรีพังงามีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นแนวขนานกับฝั่งทะเลอันดามันในแนวเหนือใต้ บริเวณเทือกเขาจะมีสภาพป่าที่สมบูรณ์เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นต้นกำเนิดลำห้วยต่างๆ มากมาย ทำให้เกิดจุดเด่นทางธรรมชาติประเภทน้ำตก หน้าผา และสภาพป่าที่สวยงาม มีต้นน้ำลำธารมากมาย เช่น คลองคุรอด คลองตำหนัง คลองแพรกขวา คลองแพรกซ้าย คลองบางแดง คลองบางวัน คลองหลักเขต และคลองบางใหญ่

อุทยานแห่งชาติศรีพังงาฝนตกเกือบตลอดปี มีเพียง 2 ฤดูกาล โดยฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน และฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม ซึ่งสภาพอากาศจะชื้นและไม่หนาวหรือร้อนจัด มีอุณหภูมิตั้งแต่ 26-29 องศาเซลเซียส ตลอดปี

พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยป่าดิบชื้นเป็นไม้ไม่ผลัดใบสภาพป่าค่อนข้างชื้น มีพรรณไม้ที่สำคัญได้แก่ ยาง ตะเคียน สะตอป่า กระท้อน ตาเสือ เสียดช่อ และนาคบุตร เป็นต้น ส่วนพืชพื้นล่างรกทึบด้วย หวาย เถาวัลย์ ว่าน สมุนไพร ระกำ มอส และเฟินชนิดต่างๆ รวมทั้งไผ่หลายชนิด มีสัตว์ป่าชุกชุมเนื่องจากพื้นที่ติดกับป่าเหนือเขื่อนเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้สัตว์ป่าอพยพหนีน้ำอันเกิดจากการปิดกั้นเขื่อนกักน้ำ มาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น สมเสร็จ เลียงผา ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมี เสือ กระจง ชะนี ลิง ค่าง วัวแดง และนกชนิดต่างๆ อีกมากมาย เช่น นกแก้ว ไก่ป่า นกเงือก นกโพระดก นกแซงแซว นกปรอด นกหัวขวาน ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบสัตว์เลื้อยคลานประกอบด้วย เต่า ตะพาบน้ำ เห่าช้าง ตะกวด งู กิ้งก่า ฯลฯ ทั้งยังมีสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น กบทูด คางคก เขียด อึ่งอ่าง และปลาที่สวยงามอยู่มากมายตามแอ่งน้ำต่างๆ

ค่าเข้าชม คนไทยผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท /ชาวต่างชาติผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท อัตราค่าบริการ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยลด 50 เปอร์เซ็นต์ วันจันทร์-วันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม-31 ธันวาคม 2558 ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท


 
 

อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 66 ของประเทศไทยภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน ได้แก่ เขาหลัก เขาลำรู เขาแสงทอง เขาไม้แก้ว และเขาปลายบางโต๊ะ มียอดเขาสูงที่สุดประมาณ 1,077 เมตร จากระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ ของจังหวัดพังงา ได้แก่ แม่น้ำตะกั่วป่า และแม่น้ำพังงา และยังประกอบด้วยคลองและลำห้วยลำเล็กๆ มากมาย ส่วนบริเวณที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาหลัก–ลำรู่ เป็นพื้นที่ชายฝั่งที่ติดกับทะเล เป็นระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย และกลุ่มประการัง

อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันตกของฝั่งทะเลอันดามัน ทำให้มีฝนตกเกือบตลอดทั้งปี มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคม โดยจะมีฝนตกชุก

สภาพป่าโดยทั่วไปภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกอบด้วย ป่าดิบชื้น, ป่าชายหาดและป่าชายเลน

ค่าเข้าชม คนไทยผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท /ชาวต่างชาติผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท อัตราค่าบริการ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยลด 50 เปอร์เซ็นต์ วันจันทร์-วันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม-31 ธันวาคม 2558 ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท


 
 

เกาะคอเขา

เกาะคอเขาสภาพทั่วไปเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบ เดินทางเข้าสู่ตำบลได้ด้วยทางเรือ จะมีเรือรับจ้างและแพขนานยนต์ไว้บริการนักท่องเที่ยว โดยจะมีท่าเทียบเรือในหมู่ที่ 2 บ้านน้ำเค็ม ตำบลบางม่วง ที่นี่มีสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงที่น่าสนใจได้แก่ เกาะผ้า, เมืองโบราณ, เกาะคอเขารีสอร์ท, สำนักสงฆ์ทุ่งตึก เป็นต้น

เกาะคอเขาจ.พังงา เป็นพื้นที่ที่ยังคงความเป็นธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์อยู่มาก เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการหลีกหนีความวุ่นวายในตัวเมืองมาพักผ่อนตาอากาศท่ามกลางธรรมชาติที่แสนบริสุทธิ์และเงียบสงบในวันหยุดอย่างคุ้มค่า

สำหรับเกาะคอเขา มีท่าเรือ และการเดินทางที่สะดวกสบาย มีที่พักระดับ 3-5 ดาว ประมาณ 400 กว่าห้อง รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันที่พร้อมให้บริการนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อบต.เกาะคอเขา โทร.0-7641-7017 หรือศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา โทร.0-7648-1900-2

โดยเรือ
ทางเรือ จากท่าเรือบ้านน้ำเค็ม ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอตะกั่วป่า 9 กิโลเมตร มีทั้งเรือเฟอรี่ที่สามารถขนรถยนต์ข้ามไปยังเกาะคอเขา ราคาคันละ 150 บาท และเรือโดยสารประจำทางราคาคนละ 40 บาท มีบริการตลอดทั้งวัน


 
 

อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง

อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 52 ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีสภาพพื้นที่เป็น 2 ส่วน คือ ป่าเขาลำปี ซึ่งมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตก ยอดเขาขนิม เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่มองเห็นทะเลอันดามัน และทิวทัศน์ของลำน้ำที่ไหลคดเคี้ยวจนออกสู่ทะเลอันดามัน อีกส่วนหนึ่งคือ ชายหาดท้ายเหมืองเป็นหาดทรายขาวสะอาดกว้างและยาว มีความเงียบสงบ

ที่ทำการอุทยานแห่งชาติตั้งอยู่บริเวณหาดท้ายเหมือง ซึ่งมีอาณาเขตทิศเหนือจดเขตที่ดินทหารเรือ ทิศใต้จดคลองหินลาด ทิศตะวันออกจดที่ดินสาธารณประโยชน์อำเภอท้ายเหมือง และทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน ส่วนบริเวณเทือกเขาลำปีมีอาณาเขตทิศเหนือจดบ้านเขากล้วยและบ้านอินทนิน ตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง ทิศใต้จดบ้านนาตาคำ และบ้านกลาง ตำบลบางทอง อำเภอท้ายเหมือง ทิศตะวันออกจดบ้านห้วยทราย ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง และทิศตะวันตกจดบ้านบ่อหิน บ้านลำปี ตำบลท้ายเหมือง และบ้านขนิม ตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง

บริเวณหาดท้ายเหมืองซึ่งอยู่ริมทะเลอันดามัน ปลายสุดของหาดเป็นแหลม เรียกว่า แหลมอ่าวขาม (เขาหน้ายักษ์) ทางด้านตะวันออกของพื้นที่มีคลองน้ำกร่อยขนาดใหญ่คือ คลองทุ่งมะพร้าว และคลองหินลาด ซึ่งน้ำส่วนใหญ่ไหลมาจากเทือกเขาลำปี และบริเวณเทือกเขาลำปีเป็นภูเขาสลับซับซ้อนเรียงตัวยาวไปตามแนวเหนือ-ใต้ ประกอบด้วย เขาขนิม เขาลำปี เขาโตนย่านไทร และเขาลำหลัง ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาขนิม มีลำน้ำหลายสายที่เกิดจากเทือกเขาลำปี เช่น คลองขนิม คลองลำปี คลองบางปอ คลองลำหลัง คลองพลุ คลองคำนึง และคลองอินทนิน เป็นต้น

สภาพป่าในบริเวณเทือกเขาลำปีเป็น ป่าดิบชื้น พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยาง หลุมพอ ตะเคียนทอง ตะเคียนชันตาแมว กระบาก เทพทาโร ยมหอม สุเหรียน ทุ้งฟ้า พลอง ฉก ฯลฯ พืชพื้นล่าง ได้แก่ ปุด เร่วดง หวายขม หวายขริง หวายกำพวน ไผ่ หมากผู้หมากเมีย คล้า กล้วยป่า และบริเวณที่ใกล้ลำธารจะเป็นเฟินตีนตะขาบ โปรงทอง ลำเพ็ง ผักกูด และกูดขน เป็นต้น เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่สำคัญหลายชนิด เช่น เหยี่ยวผึ้ง เหยี่ยวรุ้ง ไก่ฟ้าหน้าเขียว นกหว้า นกแสกแดง นกเค้าป่าสีน้ำตาล นกโพระดก นกพญาไฟ ชะนีมือขาว ลิงเสน ลิงกัง ค่าง สมเสร็จ เก้ง และเลียงผา เป็นต้น

ค่าเข้าชม คนไทยผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท /ชาวต่างชาติผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท อัตราค่าบริการ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยลด 50 เปอร์เซ็นต์ วันจันทร์-วันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม-31 ธันวาคม 2558 ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท


 
 

หาดบางสัก

หาดบางสัก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของอุทยานแห่งชาติเขาหลัก ชายฝั่งบริเวณบ้านบางสัก ด้านทิศใต้ติดหาดปากวีบ ลักษณะเด่น เป็นชายหาดที่ขาวละเอียด หาดทรายสะอาด มีสภาพธรรมชาติดั้งเดิม เงียบสงบ นักท่องเที่ยวน้อย เหมาะสำหรับการพักผ่อน ปิกนิกทานอาหารทะเล ชมทิวทัศน์ใต้ทิวสนสามารถเล่นน้ำได้ชายหาดไม่ชัน โค้งหาดยาวต่อเนื่อง เหนือหาดจะพบต้นสนทะเลอยู่เป็นจำนวนมากทำให้ชายหาดมีความร่มรื่นตลอดแนว บางส่วนยังมีผักบุ้งทะเลขึ้นคลุมหาดทรายเป็นบริเวณกว้างดูแล้วสวยงาม แปลกตาเป็นธรรมชาติ ด้านหลังของป่าชายหาดมีถนนลาดยางเลียบยาว เดินทางได้สะดวก และยังสามารถพบร้านอาหารทะเลได้แถวริมถนนในราคามิตรภาพหลายร้านเมื่อมาเยือนทะเลพังงาแล้ว หากมิได้ลิ้มรสของอาหารทะเลสดๆ ย่อมถือได้ว่านักท่องเที่ยวยังไม่ได้สัมผัสความเป็นพังงาที่แท้จริง อันเนื่องมาจากพังงาเป็นจังหวัดชายทะเล และเป็นเมืองที่เน้นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ฉะนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่นักท่องเที่ยวที่จะได้สัมผัสอาหารทะเลสดๆในราคาที่ย่อมเยา คุ้มค่า

สำหรับคำแนะนำในการท่องเที่ยวหาดบางสักนั้น ช่วงเช้าเป็นช่วงที่ ทะเลสงบมีคลื่นเล็กน้อย ให้ความรู้สึกสงบ เหมาะกับการเดินเล่นมากๆ นอกจากนี้ตามแนวหาดก็มีทางเดินให้นักท่องเที่ยวได้เดินเล่นอย่างสบายอารมณ์เหมาะแก่นักท่องเที่ยวที่ชอบออกกำลังกายยามเช้าเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อเดินถัดไปก็มีสะพานข้ามแอ่งน้ำที่เกิดขึ้นจากช่วงหน้ามรสุมมีคลื่นสูงซัดเข้ามายังหาดจนเป็นแอ่ง เหมาะแก่การถ่ายภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึกอย่างยิ่ง อีกทั้งในช่วงเย็นหาดบางสักเป็นหาดหนึ่งที่มีพระอาทิตย์ตกดินที่งดงาม นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง

หาดบางสักตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลบางม่วง ริมถนนสายเพชรเกษมช่วงท้ายเหมือง-ตะกั่วป่า กิโลเมตรที่ 76-77 มีทาง แยกซ้ายมือเข้าไป 100 เมตร นักท่องเที่ยวสามารถขับรถส่วนบุคคลเพื่อไปยังหาดบางสักได้ โดยเส้นทางสะดวกสบายเดินทางได้สะดวก ไม่เป็นที่สับสนแต่อย่างใด หากนักท่องเที่ยวเดินทางมาจากเขาหลักก็จะใช้เวลาเดินทางเพียง 20 นาทีตามถนนเพชรเกษมสายเขาหลัก-ตะกั่วป่า และเมื่อนักท่องเที่ยวเข้าสู่ถนนหน้าหาด จะเห็นแนวต้นสนอ่อนมากมาย เรียงรายตลอดสาย ใบสนอ่อนที่หลุดร่วงลงเป็นสีน้ำตาล ช่วยให้ถนนสวยขึ้นอีกเยอะและดูเป็นธรรมชาติมาก

 
     
ดำน้ำแบบสนอร์เกิล
พังงา  
     
     
ดำน้ำแบบสกูบา
พังงา  
     
     
Water Sports
พังงา  
     
     
ปีนเขา ชมวิว
พังงา  
     
     
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ

บ่ออนุบาลเต่า กองทัพเรือ ภาค 3

บ่ออนุบาลเต่าทะเล กองเรือภาค 3 ตั้งอยู่ที่ กองเรือภาค 3 ทับละมุ จ.พังงา

กองทัพเรือได้ทำการเพาะเลี้ยงเต่าทะเลมาหลายสิบปีแล้ว เพื่ออนุรักษ์เต่าทะเลในประเทศไทย ที่นี่เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีการเพาะเลี้ยงเต่าทะเล บ่อเพาะเลี้ยงเต่าเป็นโรงเรือนริมทะเล มีบ่อขนาด 2?3 เมตร อยู่เกือบ 20 บ่อ โดยแบ่งเป็นบ่อเลี้ยงเต่าตนุ เต่ากระ และเต่าหญ้ามีทั้งเต่าที่มาจากอ่าวไทยแถบสัตหีบและจากทะเลอันดามัน ส่วนใหญ่เป็นเต่าขนาดใหญ่ อายุประมาณ 4-5 ปี ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม อาจมีลุกเต่าที่นำมาอนุบาลก่อนปล่อยลงทะเลให้ชมด้วย ในอนาคตอาจย้ายบ่ออนุบาลไปอยู่ในบริเวณใกล้เยงกับศูนย์อนุรักษ์กลางฯ เพื่อความสะดวกในการชม (ต้องขออนุญาตหน่วยรักษาการณ์ตรงประตูทางเข้าก่อน)

การเดินทางจากกองเรือภาค 3 ทับละมุ ขับรถตรงไปประมาณ 100 เมตร เลี้ยวซ้ายที่สามแยกแรก เลี้ยวขวาไปประมาณ 500 เมตร เมื่อถึงสามแยกเลี้ยวซ้ายไปอีก 500 เมตร มีทางแยกขวามือเป็นทางดินเล็กๆ เข้าไปอีก 100 เมตร จะถึงบ่ออนุบาลเต่าทะเล


 
 

ศูนย์อนุรักษ์อุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์
อยู่ในกองทัพเรือภาค 3 หมู่บ้านทับละมุ ตำบลลำแก่น

เบอร์โทร+66 7659 5170, +66 7659 5090
ศูนย์อนุรักษ์อุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์ อยู่ในกองทัพเรือภาค 3 หมู่บ้านทับละมุ ตำบลลำแก่น ฐานทัพเรือพังงาตั้งขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ ทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเลแก่นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป เป็นอาคาร 2 ชั้น แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมทางทะเล การฉายสไลด์มัลติวิชั่นเกี่ยวกับใต้ทะเลอันดามัน

 

 
 

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งพังงา
164 หมู่ 9 ตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา

เบอร์โทร+66 7643 2212

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งพังงา เลขที่ 164 หมู่ 9 ตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ตั้งอยู่บนแนวถนนเลียบชายทะเลหาดท้ายเหมือง ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 4 กิโลเมตรเป็นหน่วยงานราชการส่วนกลาง ในสังกัดสำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2528 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการเพาะพันธุ์หอยแครง หอยนางรม และกุ้ง ใช้งบประมาณจากโครงการกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร และกองทุนความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มผลผลิตอาหารจากประเทศญี่ปุ่น เป็นเงินรวม 15 ล้านบาท โดยแยกเป็นเงินยืมไม่เสียดอกเบี้ย จำนวน 11 ล้านบาท กำหนดชำระคืนใน 8 ปี ระยะปลอดหนี้ 3 ปี และเงินจ่ายขาดจำนวน 4 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง ในระยะแรกได้รับการตั้งชื่อเป็น "สถานีพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยจังหวัดพังงา" ซึ่งเริ่มดำเนินการผลิตสัตว์น้ำในปี พ.ศ. 2532 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีประมงน้ำกร่อยจังหวัดพังงา" แล้วยกระดับเป็น "ศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งพังงา" และในปี พ.ศ. 2545 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นปัจจุบันตามการปรับโครงสร้างในการปฏิรูประบบราชการของประเทศ

 
     
วิถีชีวิตชาวเล
พังงา  
     
     
 
ตกปลา-ตกหมึก
พังงา
กิจกรรมอื่นๆ
พังงา  
     
     
 
ที่มาของภาพ และข้อมูล
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ท่องเที่ยวทะเลไทย
อ่าวไทยตะวันตก
เที่ยวตลอดทั้งปี คลื่นลมแรง ในช่วงฤดูฝน บริเวณ ชะอำ หัวหิน ปราณบุรี ทะเลประจวบฯ
 
ทะเลใต้ ฝั่งอันดามัน
อันดามันเหนือ ปลอดมรสุม พ.ย. - เม.ย. บริเวณ หมู่เกาะสิมิลัน เกาะตาชัย หมู่เกาะสุรินทร์ / อันดามันใต้ ปลอดมรสุม ต.ค.-พ.ค บริเวณตั้งแต่ภูเก็ตลงไปถึงตะรุเตา
 
     
อ่าวไทยตะวันออก
พฤศจิกายน - เมษายน ปลอดลมมรสุม อ่าวไทยตอนบนบริเวณ พัทยา สัตหีบ แสมสาร เกาะเสม็ด เกาะช้าง เกาะกูด


 
ทะเลใต้ ฝั่งอ่าวไทย
พฤษภาคม-ตุลาคม ปลอดมรสุม อ่าวไทยตอนกลาง และตอนล่าง บริเวณ เกาะเต่า เกาะนางยวน เกาะสมุย หมู่เกาะอ่างทอง และกองหินโลซิน
 
   
 
* สำหรับผู้ประกอบการที่พัก บังกาโล รีสอร์ท, ร้านอาหาร, ร้านค้า และสถานประกอบการอื่นๆ สามารถแจ้งเพิ่ม แก้ไขข้อมูลรายละเอียดสถานประกอบการ และโปรโมชั่นได้ฟรี
ผ่านทาง e-mail : seathailandtoday@ .com  
 
:: พันธมิตร(Partner) กับ ThaiLodgeToday.com - Beaches
ร่วมเป็นพันธมิตร(Partner) กับเราเพื่อสิทธิประโยชน์ทางธุรกิจของท่าน
แบบเพื่อนบ้าน (ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น)
  ผู้ประกอบการสามารถแจ้งข้อมูลรายละเอียดของที่พัก บังกะโล รีสอร์ท ร้านอาหาร ร้านค้า ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการต่างๆ ของผู้ประกอบการให้กับ ThaiLodgeToday.com - Beaches เพื่อรับหน้าเว็บเพจประชาสัมพันธ์ฟรี 1 หน้า พร้อมทั้งรับสิทธิ์แจ้งแก้ไขรายละเอียด และสิทธิพิเศษอื่นๆ อ่านต่อ >>
แบบเพื่อนใจดี (นำสินค้าหรือบริการของท่าน มาแลกบริการของเรา)
  รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานเหมือนเพื่อนบ้าน และรับมากกว่า เช่น โฆษณาฟรีในตำแหน่งแบนเนอร์ว่าง, ประชาสัมพันธ์ผ่านข่าวหน้าแรก ThaiLodgeToday.com - Beaches , fanpage, Google+ และ twitter ส่วนลด และบริการโฆษณาฟรี /บริการออกแบบเว็บไซต์ และสิทธิพิเศษอื่นๆ อ่านต่อ >>

อ่านรายละเอียดคลิกที่นี่
สำหรับผู้ประกอบการ  
ติดต่อโฆษณา และประชาสัมพันธ์ ดูรายละเอียดตำแหน่ง Banner อัตราค่าโฆษณา และโปรโมชั่น อ่านรายละเอียด คลิกที่นี่  
   
   
สะสมแต้ม จิกทะเลพลัส
ลงโฆษณากับเราวันนี้ รับแต้มสะสมเพื่อแลกรางวัลโฆษณาฟรีกับ ThaiLodgeToday.com - Beaches
 
     
 
:: เมนูทะเลไทย

ข้อมูลเมืองชายทะเลไทย
โปรโมชั่นทะเลไทย
การเดินทาง
ข่าว บทความ ทะเลไทย
เที่ยวทะเลไทย
   อ่าวไทยตะวันออก
   อ่าวไทยตะวันตก
   ทะเลใต้ ฝั่งอันดามัน
   ทะเลใต้ ฝั่งอ่าวไทย

กิจกรรมเที่ยวทะเลไทย
เส้นทางท่องเที่ยวทะเลไทย
ปฏิทินท่องเที่ยว
สัมผัสทะเลไทย
บันทึกความทรงจำ
ที่พัก บังกาโล รีสอร์ท
รีวิวที่พัก บังกาโล รีสอร์ท
ร้านอาหาร กาแฟ เครื่องดื่ม
รีวิวที่กิน ร้านอาหาร
ห้องภาพ



 
A2
A3